การเขียนแบบเป็นทักษะการปฏิบัติงานที่จำเป็นสำหรับนักออกแบบทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นอาชีพวิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร รวมทั้งนักออกแบบในทุกสาขาวิชาชีพ ดังนั้นจึงเป็นวิชาสำคัญอันเป็นพื้นฐานสำหรับนักศึกษาที่เรียนในสาขาศิลปะและการออกแบบในทุกสาขา ที่จะต้องสนใจศึกษาทำความเข้าใจและฝึกปฏิบัติจนเกิดทักษะความชำนาญ จึงจะสามารถปฏิบัติการเขียนแบบและการอ่านแบบได้อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ของตน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องรับรู้ผลงานที่ออกแบบได้อย่างถูกต้องตรงกัน ดังนั้นการเขียนแบบจึงเปรียบเสมือนแผนที่นําทางเพื่อไปสู่จุดหมายได้อย่างถูกต้อง ผู้ศึกษาควรเห็นความสําคัญของงานเขียนแบบ มีความเข้าใจวิวัฒนาการและพัฒนาการของเครื่องมือการเขียนแบบ สามารถเลือกรูปแบบและวิธีการถ่ายทอดงานเขียนแบบได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับงานเขียนแบบประเภทต่าง ๆ ได้
งานเขียนแบบคือ การถ่ายทอดความคิดและจินตนาการของวิศวกรหรือสถาปนิก ออกมาให้ปรากฏเป็นรูปร่าง ลักษณะและรูปทรงต่าง ๆ ในกระดาษเขียนแบบ ซึ่งสามารถนําไป ปฏิบัติและทําได้จริง ดังนั้นการเขียนแบบจึงเป็นงานที่ถ่ายทอดความคิดอย่างสร้างสรรค์ โดย การ บูรณาการความคิดและจินตนาการเข้าด้วยกันอย่างถูกต้องเหมาะสมและสวยงาม
แบบคือหัวใจของงานช่างทุกสาขา โดยเฉพาะงานช่างอุตสาหกรรม เป็น ภาษาสากลที่ใช้แสดงหรือสื่อความหมายของงานที่จะสร้าง หรือที่ต้องการผลิต ภาพหรือรูปร่างที่ เราเรียกกันว่าแบบนั ้น เขียนขึ ้นโดยอาศัย เส้นชนิดต่าง ๆ เช่น เส้นตรง เส้นประ สัญลักษณ์ และเครื่องหมายเฉพาะอื่น ๆ เมื่อประกอบกันขึ้นเป็ นรูปทรง ก็ใช้สื่อความหมายที่ให้ผ้ที่ ู เกี่ยวข้องได้เห็นรูปร่าง เห็นขนาด เห็นลักษณะของผิว สี ชนิดของวัสดุ เห็นวิธีการและ ขั้นตอนในการนําไปสร้างหรือประกอบ ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนําแบบมาแยกแยะ เพื่อคํานวณ ปริมาณของวัสดุ ประมาณราคา และระยะเวลาในการผลิตได้ เป็นการยากที่จะพูดว่าอาชีพใดบ้าง ที่ไม่ต้องการความสามารถในการอ่าน เขียน และเข้าใจแบบ สําหรับอาชีพช่างอุตสาหกรรมแล้วถือ ว่าแบบเป็นหัวใจสําคัญของงาน
การจะสร้างอาคาร สร้างรถยนต์ โทรทัศน์ วิทยุ ตู้เย็น ของใช้ที่ผลิตขึ้นในงาน อุตสาหกรรม ที่เราอุปโภค บริโภคอยู่ทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่ต้องออกแบบและเขียนแบบขึ ้นมาก่อน ทั ้งสิ ้น เมื่อพูดถึงการเขียนแบบเรามักจะรวมถึงการออกแบบไว้ด้วย หากเราออกแบบได้สวยงาม มี ประโยชน์ เป็นที่ประทับใจแก่ผู้ใช้ ย่อมถือว่าแบบมีความสําคัญ การออกแบบ เขียนแบบ จึง เปรียบเสมือนเป็นการวางแผน คือหาวิธีที่จะสร้างหรือผลิตของสิ่งหนึ่งขึ้นมาล่วงหน้า ผู้ที่คิดวางแผนอาจไม่ใช่ผู้สร้างหรือผู้ผลิต เมื่ออกแบบหรือเขียนแบบสําเร็จขึ ้นมาแล้ว ผู้ผลิตต้อง สามารถเข้าใจแบบ ดังนั ้น การเขียนแบบจะต้องชัดเจน แม่นยํา และตีความหมายแบบได้ อย่างเดียวกัน
งานเขียนแบบแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
1. งานเขียนแบบด้านสถาปัตยกรรม ( Architectural Drawing) เป็นงานเขียน แบบที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างทุกชนิด เช่น อาคาร บ้านเรือนต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
1.1 แบบภาพเหมือน เป็นการแสดงให้เห็นรูปสําเร็จของชิ้นงานว่า เมื่อ สร้างเสร็จแล้วผลงานจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ดังรูปที่ 1.1
1.2 แบบรูปด้าน แสดงให้เห็นด้านต่าง ๆ ของวัตถุ หรือสิ่งก่อสร้างนั ้น อย่างชัดเจน เช่น ด้านหน้า ด้านบน ด้านข้าง เป็นต้น ดังรูปที่ 1.2
รูปที่ 1.2
1.3 แบบโครงสร้าง เป็นการแสดงให้เห็นรายละเอียดของโครงสร้างของอาคาร หรือสิ่งก่อสร้าง เช่น แปลนพื ้น โครงหลังคา เป็นต้น ดังรูปที่ 1.3
รูปที่ 1.3
1.4 แบบรูปตัด เป็นการแสดงให้เห็นรายละเอียดภายในของโครงสร้างในส่วนที่ สําคัญให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้น ดังรูปที่ 1.4
รูปที่ 1.4
2. งานเขียนแบบด้านวิศวกรรม (Engineering Drawing) เป็นงานเขียนแบบที่ เกี่ยวกับเครื่องจักรกล ช่างกลโรงงาน แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
2.1 เขียนแบบเครื่องกล (Mechanical Drawing) เป็นการแสดงให้เห็นถึงแบบ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักรกล เนื่องจากเครื่องจักรกลจะประกอบด้วยรายละเอียดมากจนไม่ สามารถจะเขียนรูปแบบทั ้งหมดได้ในแบบเดียว จําเป็นต้องแยกเขียนเป็นชิ ้นส่วนต่าง ๆ เช่น เกลียว น๊อต ลูกสูบ เฟือง เป็นต้น ดังรูปที่ 1.5
รูปที่ 1.5
2.2 การเขียนแบบงานโลหะ และ โลหะแผ่น (METAL&SHEETMETAL DRAWING) เป็นงานเขียนแบบที่เกี่ยวกับงานหล่อโลหะ แบบแผ่นคลี่ต่าง ๆ ดังรูปที่ 1.6
รูปที่ 1.6
2.3 เขียนแบบงานไฟฟ้า อิเลคโทรนิคส์ (ELECTRICAL DRAWING) เป็น งานเขียนแบบเกี่ยวกับอุปกรณืไฟฟ้า วงจรไฟฟ้า การวางตําแหน่งของวรจร อุปกรณ์จับยึดไฟฟ้า วงจรวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น ดังรูปที่ 1.7
รูปที่ 1.7 สวิตสองทาง
2.4 การเขียนแบบช่างสํารวจ( Survey Drawing) แสดงแผนผังของเมือง กรรมสิทธิ์ ที่ดิน รวมทั ้งตําแหน่งของท่อน้ำประปา ท่อก๊าซ เป็นต้น ดังรูปที่ 1.8
รูปที่ 1.8
เพื่อช่วยบันทึกแนวคิดสร้างสรรค์ขึ้นไว้เป็นรูปแบบที่เป็นรูปธรรม
ช่วยในการจัดสัดส่วนของงานให้มีความงดงามลงตัว
ช่วยในการคํานวณวัสดุที่ใช้ในการสร้างให้พอดีกับการทํางาน
ช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจในความคิดและความต้องการของผู้ออกแบบ
ช่วยให้ผู้อื่นสามารถนําแบบนั้นไปสร้างได้อย่างถูกต้องตามกระบวนการ ตรงตามความ ต้องการของผู้ออกแบบ
ช่วยจัดขั้นตอน วิธีการทํางานได้อย่างถูกต้อง
ช่วยแก้ปัญหาของช่างที่นําแบบไปปฏิบัติจริง
ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานตามแบบ
ในการทํางานเขียนแบบผู้เรียนจําเป็นต้องรู้จักเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงาน เขียนแบบที่จําเป็น รู้จักหลักการใช้อย่างถูกวิธี เพื่อให้การทํางานเกิดประสิทธิภาพ สามารถทํางาน ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและสวยงาม ตลอดจนวิธีการดูแลรักษา เพื่อให้เครื่องมืออยู่ในสภาพดี สมบูรณ์ในระยะเวลายาวนาน
1. โต๊ะเขียนแบบ(DRAWING TABLE) โต๊ะเขียนแบบโดยทั่ว ๆ ไป จะมีขนาด มาตรฐานจาก 600X900 มม. ถึง 1,050 X 2,100 มม. คุณลักษณะที่ดีของโต๊ะเขียนแบบ คือ
1.1 พื้นโต๊ะต้องราบเรียบสนิทใช้วัสดุแข็งเรียบ ทําความสะอาดง่าย
1.2 มีขอบด้านหนึ่งเรียบและได้ฉากกับพื้นผิว
1.3 ปรับพื้นโต๊ะให้สูง ตํ่า หรือเอียงได้เพื่อความสะดวกในการเขียนแบบ ดังรูปที่ 2.1
รูป 2.1
การบํารุงรักษา
1. ทําความสะอาดพื้นโต๊ะทุกครั้งก่อนและหลังจากการใช้งาน
2. รักษาพื้นผิวไม่ให้มีรอยแตก หรือรอยบุ๋ม
2. กระดานเขียนแบบ(DRAWING BORAD) ในกรณีที่ไม่สามารถจัดหาโต๊ะ เขียนแบบได้ ก็อาจใช้กระดานเขียนแบบแทน กระดานเขียนแบบทําจากแผ่นกระดานไม้เนื้ออ่อน พื้นเรียบ ปูพื้นโต๊ะด้วยวัสดุแผ่นเรียบเช่นฟอร์ไมก้า และมีขอบตั้งได้ฉากกับพื้น เมื่อติดกระดาษลง บนแผ่นกระดานแล้ว วางกระดานบนโต๊ะอีกครั้งหนึ่ง แล้วใช้ปฏิบัติงานเขียนแบบได้ ดังรูปที่ 2.2
รูป 2.2
การบํารุงรักษา
1. ทําความสะอาดพื้นกระดานทุกครั้งก่อนและหลังจากการใช้งาน
2. รักษาผิวกระดานอย่าให้มีรอยแตกหรือบุ๋ม
3. การจัดเก็บควรจัดเก็บในแนวตั ้ง
3.ไม้ที (T-SQUARE) ใช้เป็นแนวในการลากเส้นตรงในแนวนอน (180 องศา) และใช้เป็นฐานรองรับฉากสามเหลี่ยม เพื่อเขียนเส้นในแนวตั้งหรือในแนวดิ่ง (90 องศา) ซึ่งจะต้อง ใช้ร่วมกับโต๊ะเขียนแบบหรือกระดานเขียนแบบ ฉากตัวทีประกอบด้วยส่วนหัว( Head)และส่วนใบ (Blade) ติดกันเป็นรูปตัวทีทํามุมฉากต่อกัน ดังรูปที่ 2.3
รูป 2.3
ขอบบนของส่วนใบซึ่งเป็นที่ใช้เพื่อเขียนเส้นในแนวนอนมักหุ้มด้วยพลาสติก เพื่อ รักษาขอบให้ตรง และสามารถมองเห็นเส้นขณะเขียนได้ ความยาวของไม้ทีมีตั้งแต่ 45 ซม. จนถึง 180 ซม. การเลือกใช้ไม้ทีขนาดยาวเท่าใดขึ้นอยู่กับระดับงานของผู้ใช้ และขึ้นอยู่กับขนาดของโต๊ะ และกระดาษเขียนแบบ ปกติขนาดของไม้ทีที่เลือกใช้ ควรมีขนาดความยาวเกือบเท่าหรือเท่ากับ ความยาวของโต๊ะเขียนแบบ เวลาที่ใช้ไม้ที จะต้องให้ส่วนหัวของไม้ทีเกาะแน่นขนานกับขอบของโต๊ะหรือ กระดานเขียนแบบ และส่วนใบแบนราบทับบนพื ้นโต๊ะบนกระดาษเขียนแบบ เวลาเขียนเส้นใน แนวนอนเพียงใช้แรงกดเล็กน้อย ให้ส่วนใบแบนราบกับพื้นโต๊ะ และให้ส่วนหัวเกาะแน่นกับขอบ โต๊ะเขียนแบบ แล้วลากเส้นไปตามขอบบนส่วนใบของไม้ที เลื่อนไม้ทีขึ้นลงตามวิธีที่กล่าว เมื่อ ต้องการเขียนเส้นในตําแหน่งต่าง ๆ ดังรูปที่ 2.4,2.5 และ 2.6
การบํารุงรักษา การรักษาไม้ทีให้ใช้ได้นาน และมีประสิทธิภาพ คือ
1. อย่าทําหล่น ระวังให้ส่วนหัวยึดแน่นกับใบ ถ้าโยกจะทําให้เส้นไม่ตรง
2. ไม่ใช้ส่วนใบตีสิ่งของอื่น ๆ แทนค้อน จะทําให้ขอบใบเสียหายเป็นรอย
3. การเก็บให้ใช้วิธีการแขวนปลายส่วนใบซึ่งมีรูกลมเจาะไว้แล้ว
4. ก่อนและหลังจากการใช้งานทุกครั้งควรใช้ผ้าเช็ดทําความสะอาด
4. ทีสไลด์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ทํางาน ในลักษณะเดียวกับไม้ทีธรรมดา สามารถนํามาประกอบกับโต๊ะ เขียนแบบหรือกระดานเขียนแบบได้ ใช้หลักการทํางานของเชือกและรอก มีความสะดวก รวดเร็ว และมีความขนานเที่ยงตรงกว่าไม้ที ดังรูปที่ 2.7
รูป 2.7
5. ฉากสามเหลี่ยม หรือ เซตสแควร์(TRIANGLE SET-SQUARE) ชุดหนึ่งมี อยู่ 2 แบบ มีมุมต่างกันดังนี้ อันแรกเรียกว่า ฉาก 30,60 และ 90 องศา ส่วนอันที่ 2 เรียกว่า ฉาก 45, 45, และ 90 องศา การเขียนมุมของฉากสามเหลี่ยมทั้ง 2 อันนี้จะต้องใช้นั่งบนขอบไม้ทีเพื่อเขียนเส้นในแนวดิ่งหรือเส้นในแนวตั้ง (90 องศา) นอกจากนั้นยังใช้เขียนเส้นทํามุม 30 , 45 , 60 องศา ฉากเหล่านี้ทําด้วยเซลลูลอยด์ หรือพลาสติก มีขนาดต่าง ๆ กัน ที่นิยมใช้กันมากเป็นขนาด 8”,10” และ 12” ดังรูปที่ 2.8 และ 2.9
ยังมีฉากอีกชนิดหนึ่งที่ปรับองศาได้ ( ADJUSTABLE TRIANGLE) แทนที่จะใช้ฉากสามเหลี่ยม สองอันดังกล่าวข้างต้น เราสามารถใช้ฉากปรับองศาแทนได้ เพราะสะดวกกว่า ฉากที่ปรับองศานี้ จะมีโปรแทรกเตอร์รวมอยู่ด้วยในตัว ระบุองศาให้ปรับ ดังรูปที่ 4.10 องศาดังกล่าวมีตั้งแต่ 0 ถึง 90 องศา
การบํารุงรักษา
1. ไม่ให้ฉากสามเหลี่ยมบิดงอ
2. ต้องเก็บโดยการวงาในแนวราบเสมอ
3. ควรใช้ผ้าเช็ดทําความสะอาดทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังการใช้งาน
4. ไม่ควรทําฉากตกหล่น โดยเฉพาะฉากปรับองศา เพราะอาจทําให้ตัวยึดหลวม ไม่แน่น เส้นที่ได้จะไม่เที่ยงตรง
6. บรรทัดสเกล (SCALE) มีหน้าที่สําหรับวัดระยะและช่วยในการเขียนแบบให้ ได้ ขนาดตามที่ต้องการ โดยใช้มาตราส่วนที่เหมาะสม บรรทัดสเกลมีทั้งแบบแบน ดังรูปที่ 2.11 และแบบหน้าตัดเป็นสามเหลี่ยม ดังรูปที่ 2.12
7. วงเวียน ( COMPASS) เป็นอุปกรณ์สําหรับเขียนวงกลมและเส้นโค้ง ดังรูปที่ 2.13 ต่างจากดิไวเดอร์ตรงที่มีขาแหลมเพียงข้างเดียว ส่วนอีกข้างหนึ่งเป็นที่ใส่ไส้ดินสอ ในกรณีที่ ต้องการเขียนวงกลมที่มีขนาดใหญ่ จะมีชุดต่อขาวงเวียน (LENGTHENING BAR) ให้ยาวออกเพื่อ เขียนวงกลมให้โตขึ้นได้ ดังรูปที่ 2.14
การบํารุงรักษา รักษาปลายแหลมของขาส่วนที่จะใช้เป็นจุดศูนย์กลางให้แหลมคม ส่วนปลาย ดินสอต้องเหลาให้แหลมคมอยู่เสมอ
8. วงเวียนวัดระยะ (DIVIDER) มีลักษณะคล้ายวงเวียน แต่ปลายทั้งสองข้าง แหลมเหมือนกัน ใช้สําหรับแบ่งเส้น แบ่งระยะ ถ่ายระยะ เนื่องจากปลายทั้งสองข้างของดิไวเดอร์ แหลมคมมาก การถ่ายระยะออกเป็นส่วน ๆ ทําได้แม่นยํากว่าเครื่องมือ ดังรูปที่ 2.15
รูป 2.15
8. ส่วนโค้งหรือเคริฟ ( IRREGULAR OR CURVES) ในกรณีที่จะเขียนส่วน โค้งซึ่งไม่ปกติ กล่าวคือส่วนโค้งที่ไม่สามารถสร้างด้วยวงเวียนได้ ก็จําเป็นต้องใช้โค้งอปกตินี ้เขียน แทน ดังรูปที่ 4.17 การจะใช้เคริฟเพื่อเขียนส่วนโค้งนั ้น ควรจะกําหนดจุดที่จะให้ส่วนโค้งผ่านไปไว้ ล่วงหน้าก่อน อาจจะโดยการคํานวนณ โดยการทดลอง แล้วร่างเส้นเบา ๆ ด้วยมือเปล่าไว้ก่อน จึง นําเอาเคริฟมาทาบแล้วลากเส้นตามแนวเคริฟ ดังรูปที่ 2.16
รูป 2.16
9. เทมเพลท ( TEMPLATES) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดเวลาในการทํางานของช่าง เขียนแบบ เทมเพลทเป็นแผ่นพลาสติกเจาะรู รูปวงกลม วงรี ห้าเหลี่ยม ฯ ขนาดต่าง ๆ กัน ดังรูป 2.17 ใช้ทาบรูปทรงที่ต้องการเขียนจากแผ่นเทมเพลทบนกระดาษ แล้วใช้ดินสอลากตามรูปในเทม เพลทเหล่านั ้น ไม่ต้องเสียเวลาในการเขียนตามหลักการ
รูป 2.17
10. ดินสอเขียนแบบ (DROWING PENCIL) งานเขียนแบบแตกต่างกับงาน เขียนอื่น ๆ ตรงที่จะต้องพิจารณาเลือกชนิดของไส้ดินสอให้เหมาะสมกับชนิดของเส้น และของ กระดาษที่ใช้เขียนแบบ ไส้ดินสออาจทําจากแกรไฟท์ ดินเหนียว และยางสนหรือส่วนผสมของยาง ไม้ ดินสอชนิดที่ใช้แกรไฟท์ทําไส้ ใช้มาแล้วเป็นเวลากว่า 200 ปี และเหมาะที่จะใช้กับกระดาษ เขียนแบบ ปัจจุบันดินสอไส้แกรไฟท์ ที่มีความแข็งอ่อนแตกต่างกัน 17 ชนิด เริ่มจากอ่อนที่สุดคือ เวลาเขียนเส้นจะดํามากไปจนถึงแข็งที่สุดเส้นจะเบาดําน้อย โดยใช้อักษรย่อดังนี ้ 6 B,5B,4B, 3B,2B,B,HB,F,H,2H,3H,4H,5H,6H,7H,8H,9H ดินสอที่ไส้อ่อนที่สุดมีความดํามาก ๆ นั ้น ไส้จะมี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโตกว่าที่มีไส้แข็งที่สุด เช่น ดินสอ 6 B ไส้จะโตและเส้นดํากว่าไส้ F และ 9 H เป็นต้น ดังรูปที่ 2.18
รูป 2.18
การเลือกดินสอเกรดใดใช้กับงานชนิดใดขึ ้นอยู่กับผิวของวัสดุที่ใช้ทํากระดาษ เขียนแบบ ขึ่นอยู่กับชนิดของเส้นที่ต้องการ เช่น เวลาเขียนเส้นร่าง ( LAYOUT) ใช้ดินสอไส้แข็ง ขนาด 4H และ 6H เวลาลงเส้นหนัก อาจใช้ HB หรือ 2H ถ้าเขียนตัวหนังสือ ลูกศร เส้นกรอบรูป อาจใช้ดินสอ HB,F, H และ 2H เป็นต้น ช่างเขียนแบบในปัจจุบันนิยมใช้ดินสอแบบที่เรียกว่า MECHANICAL PENCIL เป็นดินสอที่คล้ายปากกาเปลี่ยนไส้ได้ ทั้งนี้ พราะดินสอประเภทนี้คงความยาวของดินสอเท่าเดิม ตลอดเวลา และสามารถเปลี่ยนไส้ได้ง่าย ดังรูป 2.19
รูป 2.19
11 . กระดาษเขียนแบบ (DRAWING SHEET) กระดาษเขียนแบบโดยทั่วไปมี ลักษณะและหน้าที่ใช้สอยต่างกันออกไป ดังนี้
กระดาษร่าง มีลักษณะเหมือนกระดาษลอกลายทั่วไป มีความทึบน้อยจนมอง ทะลุผ่านถึงแบบที่ร่างไว้ข้างใต้
กระดาษปอนด์ มีลักษณะเหมือนกระดาษวาดเขียนทั่วไป แต่มีความหนาบาง ต่างกันหลายขนาดตามนํ ้าหนักคือตั ้งแต่80-100 ปอนด์ส่วนขนาดกว้างยาวของแผ่นกระดาษมี ขนาดมาตรฐาน
กระดาษไข กระดาษชนิดนี ้มีเนื ้อเรียบแข็งและมีความขุ่นน้อยกว่ากระดาษร่าง บางทีก็เรียกกันว่ากระดาษแก้ว และผลิดออกขายเป็นม้วน มีความยาวประมาณ 30 เมตร กว้าง 1.10 ม. มีความหนาบางต่างกันตามเบอร์ตั ้งแต่ 60,70,80,90 และ 100
ยังมีกระดาษไขอีกชนิดหนึ่งทําจากพลาสติก ซึ่งถูกนํ ้าจะไม่หดตัวหรือย่น แม้การ พิมพ์ก็ได้ผลดี ไม่แตกต่างกับกระดาษไขธรรมดา ผิวหน้าทางด้านหนึ่งเป็นผิวด้านจับดินสอและ หมึกได้ดี แต่อีกด้านจะลื่น อายุการใช้งานสั ้น เพราะมักกรอบแตกเร็วกว่ากระดาษไขธรรมดามาก
วิธีติดกระดาษเขียนแบบบนโต๊ะหรือกระดานเขียนแบบ ให้ใช้ไม้ทีวางทับกระดาษ โดยให้หัวไม้ทีแนบขนานกับขอบโต๊ะหรือขอบกระดาษเขียนแบบ และให้ขอบบนของกระดาษเขียน แบบขนานกับขอบบนของไม้ที กระดาษเขียนแบบควรวางห่างจากขอบโต๊ะทั ้ง 4 ด้าน เท่า ๆ กัน (ให้อยู่ตรงกลางโต๊ะ)เพื่อสะดวกในการทํางาน เมื่อขอบบนของกระดาษเขียนแบบขนานกับขอบบน ของไม้ทีแล้ว เลื่อนไม้ทีลงด้านล่างเล็กน้อยและกดทับกรัดาษไว้ ใช้สก๊อตเทปติดที่มุมทั ้ง 4 ด้าน ดังรูป 2.20
รูป 2.20
ภาพที่ใช้ในงานเขียนแบบ ในงานเขียนแบบชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล หรือแบบงานทั่วไป ภาพที่ใช้มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ภาพ 2 มิติ และ ภาพ 3 มิติ ดังรูปที่ 3.1
รูป 3.1
ภาพ 2 มิติ
ภาพ 2 มิติ คือภาพที่แสดงรูปทรงของภาพใน 2 มิติ คือ ความกว้าง และคงวามสูง หรือ ความกว้างและความยาว โดยจะมองเห็นเป็นลักษณะองพื ้นที่ เช่น รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หกเหลี่ยม วงกลม หรือรูปทรงอื่น ๆ ดังรูปที่ 3.2
รูป 3.2
ภาพ 3 มิติ
ภาพ 3 มิติ คือภาพที่แสดงรูปทรงของภาพใน 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว หรือความสูง และความลึก ลักษณะของภาพจะแสดงปริมาตรของสิ่งที่อยู่ในภาพนั้น ๆ ดังรูปที่ 3.3
รูป 3.3
ภาพสามมิติที่นิยมใช้ในงานเขียนแบบ มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด คือ
1. ภาพออบบลิก (Oblique)
2. ภาพไดเมตริก(Dimetric)
3. ภาพไอโซเมตริก(Isometric)
4. เพอร์สเปกทีฟ(Perspective)
1. ภาพออบบลิก (Oblique)
ลักษณะของภาพออบบลิก
(1) โครงร่างของขอบภาพจะประกอบด้วยเส้น 3 เส้น คือ เส้นในแนวนอน(180 องศา) เส้น ในแนวดิ่ง(90 องศา)และ เส้นเอียง 45 องศา ดังแสงดในรูปที่ 3.4
(2) ขนาดความกว้าง ความสูงของภาพจะมีขนาดเท่ากับของจริง(1 :1) ส่วนความลึกของ ภาพจะมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่ง(1:2)ของขนาดของจริง
(3) ขอบของชิ้นงานหรือส่วนที่ถูกบังเอาไว้จะแสดงด้วยเส้นประ
ในกรณีที่รูปทรงของวัตถุมีวงกลมหรือรูปไม่ปกติเขียนยาก จะนํามาเขียนไว้ ด้านหน้าของภาพออบบลิก เพราะเป็นด้านที่สามารถเขียนเป็นรูปจริง ขนาดจริงได้ เช่น ถ้ามีรูป วงกลมอยู่ เมื่อนํามาเขียนไว้ที่รูปด้านหน้าของภาพออบบลิก ก็ยังคงสภาพเป็นวงกลมตามเดิม แต่ถ้านํารูปวงกลมไปเขียนที่ด้านที่เป็นมุมเอียงแล้ว รูปวงกลมนั้นจะกลายเป็นรูปเอลลิพส์ ซึ่งเขียน ยากต้องมีหลักการและวิธีการเขียนที่ซับซ้อนขึ้นไปอีก
รูป 3.4
2. ภาพไดเมตริก (Dimetric)
ลักษณะของภาพไดเมตริก
(1) โครงร่างของขอบภาพจะประกอบด้วยเส้นสามเส้น คือ เส้นเอียง 7 องศา เส้นใน แนวดิ่ง และเส้นเอียง 42 องศา ดังแสดงในรูปที่ 3.5
(2) ขนาดความกว้าง ความสูง จะมีขนาดเท่าของจริง (1 :1) ส่วนความลึกจะมีขนาด เพียงครึ่งหนึ่ง(1:2)ของขนาดของจริง
(3) ขอบของชิ้นงานหรือส่วนที่ถูกบังมองไม่เห็นใส่เป็นเส้นประ
ภาพไดเมตริกเป็นภาพที่เขียนได้ยาก เนื่องจากมีเส้นเอียงทํามุม 7 องศา และ 42 องศา ต้องใช้ ฉากที่ปรับมุมได้ แต่รูปร่างของภาพจะเหมือนจริงมากกว่าภาพ 3 มิติ แบบอื่น ๆ
รูป 3.5
3. ภาพไอโซเมตริก (Isometric)
ลักษณะของภาพไอโซเมตริก
(1) โครงร่างของขอบภาพจะประกอบด้วยเส้น 3 เส้น คือ เส้นเอียง 30 องศา 2 เส้น และ เส้นในแนวดิ่ง(90 องศา)1 เส้น ดังรูปที่ 3.6
(2) ขนาดความกว้าง ความสูง และความลึกของภาพจะมีขนาดเท่ากับขนาดของจริง
(3) ขอบของชิ ้นงานหรือส่วนที่ถูกบังเอาไว้หรือมองไม่เห็นจะถูกเขียนด้วยเส้นประ
รูป 3.6
4. เพอร์สเปกทีฟ (Perspective)
ภาพเพอร์สเปกทีฟ เป็นภาพที่เหมือนที่คล้ายภาพจริงมากที่สุด หรือคล้ายกับภาพ จริงที่ตามองเห็นมากที่สุด คือสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวจะมีขนาดใหญ่ สิ่งที่อยู่ไกลออกไปจะมีขนาดเล็กลง เช่นการมองภาพทางรถไฟที่รางทั ้งสองข้างพุ่งบรรจบกันที่ปลายสุดสายตาดังรูปที่ 3. 7 นิยมใช้กัน มากในงานด้านสถาปัตยกรรม
รูป 3.7
ลักษณะของภาพเพอร์สเปกทีฟ โครงร่างของขอบภาพจะประกอบด้วยเส้น 3 เส้น คือ เส้นเอียง 2 เส้น และเส้นในแนวดิ่ง 1 เส้น และมีจุดปลายสายตามองเห็นที่เรียกว่า Vanishing Point (VP)1-3 จุด ดังรูปที่ 3.8
รูป 3.8
หลักการเขียนภาพฉาย(Orthographic projection)
Orthographic projection คือ วิธีการฉายภาพหรือถ่ายทอดภาพจริงองวัตถุจากลักษณะ ภาพสามมิติ ออกมาเป็นภาพสองมิติภาพที่ตามองเห็น เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ เป็นภาพสามมิติ คือ มองเห็นความกว้าง ความยาว หนา สูง หรือลึก เมื่อนําไปเขียนในแบบหรือถ่ายทอดออกมาเป็น เพียงรูปด้าน เช่น ด้านบน ด้านหน้า ฯ รูปด้านต่าง ๆ จะมีเพียงสองมิติ เช่น รูปด้านบนก็จะแสดงให้ เห็นเพียงความกว้างกับความยาว หรือรูปด้านหน้าแสดงให้เห็นเพียงความยาวกับความสูงเท่านั้น วิธีการของ Orthographic ก็คือ การถ่ายทอดรูปร่างจริงของวัตถุแต่ละมุมแต่ละด้านออกไปสู่พื้น ราบนั่นเอง
การมองภาพฉาย
การมองภาพฉายเป็นการมองตั้งฉากกับระนาบด้านต่าง ๆ ที่ชิ้นงานตั้งอยู่ ซึ่ง ระนาบด้านจะมีอยู่ 6 ด้าน เหมือนชิ้นงานตั้งอยู่ในกล่องแก้วสี่เหลี่ยมที่มีผนังของกล่องแก้วเป็น ระนาบด้านต่าง ๆ ดังตัวอย่างในรูปที่ 4.1
รูป 4.1
ภาพที่เกิดขึ้นจากการมองจะมีลักษณะเป็นพื้นที่ของผิวชิ้นงานที่มีเส้นขอบของ ชิ้นงานล้อมรอบอยู่ การมองชิ้นงานในแต่ละด้าน จะเกิดภาพที่แตกต่างกันไปตามรูปร่างของ ชิ้นงาน และจํานวนพื้นที่ผิวของชิ้นงานในแต่ละด้าน
1. การมองชิ้นงานตามทิศทางหมายเลข 1 การมองตามทิศทางหมายเลข 1 จะเห็นผิวของชิ ้นงาน 1 ส่วน รูปร่างเหมือนตัว L กลับ ด้าน ดังในรูปที่ 4.2
รูป 4.2
2. การมองชิ้นงานตามทิศทางของหมายเลข 2 การมองตามทิศทางของหมายเลข 2 จะเห็นพื ้นที่ผิวองชิ้นงาน 2 ส่วน เป็นรูปสี่เหลี่ยม 2 รูปติดกัน ในแนวตั้ง ดังรูปที่ 4.3
รูป 4.3
การเขียนภาพฉาย (Orthographic Drawing)
การเขียนภาพฉายทุกด้าน ในแต่ละด้านจะต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งขนาด สัดส่วนและ ทิศทาง โดยการลากเส้นฉาย ( Projection Line) เป็นเส้นร่างเบา ๆ จากจุดตัดทุกจุดของภาพฉาย โยงไปยังภาพฉายอีกด้านหนึ่ง ซึ่งจุดที่ได้จะเป็นส่วนหนึ่งของภาพฉายอีกด้าน การเขียนภาพฉาย จะใช้ภาพด้านหน้าเป็นด้านหลักฉายไปยังภาพด้านข้างและภาพด้านบน ส่วนภาพด้านข้างกับ ภาพด้านบนก็สามารถใช้เส้นฉายเชื่อมโยงกัน โดยใช้เส้นมุม 45 องศา เป็นเส้นเชื่อมโยงกัน
รูป 5.1
วิธีการเขียนภาพฉาย
1. ลากเส้นร่างในแนวดิ่ง (90 องศา) และเส้นในแนวนอน (180 องศา) ตัดกัน โดยแบ่ง หน้ากระดาษออกเป็น 4 ส่วน
2. กําหนดให้เขียนภาพลงในแต่ละส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 เขียนภาพด้านหน้า
ส่วนที่ 2 เขียนภาพด้านบน
ส่วนที่ 3 ลากเส้นเอียงทํามุม 45 องศา
ส่วนที่ 4 เขียนภาพด้านข้าง
รูป 5.2
3. เขียนภาพด้านหน้าของชิ้นงานเป็นภาพหลัก โดยลากเส้นในแนวนอน และ แนวตั้ง เพื่อเป็นฐานในการวางรูป กําหนดขนาดและเขียนภาพด้านหน้า โดยเขียนเป็น เส้นร่างเบาๆ ก่อน
4. จากภาพด้านหน้า ลากเส้นฉายในแนวนอนต่อจากเส้นขอบรูปไปยังส่วนที่ 4 ซึ่งเป็น ส่วนสูงของภาพด้านข้าง ซึ่งสูงเท่ากับภาพด้านหน้า
5. จากภาพด้านหน้าลากเส้นในแนวดิ่งลงมายังส่วนที่ 2 เพื่อถ่ายขนาดความยาวของ ภาพด้านหน้า ซึ่งเท่ากับความยาวของรูปด้านบน เขียนภาพด้านบน
6. จากภาพด้านบนลากเส้นฉายในแนวนอนต่อจากเส้นขอบรูปของภาพด้านบน ไปตัด กับเส้น 45 องศาในส่วนที่ 3 จากจุดที่เส้นตัดกัน ลากเส้นตั ้งฉากขึ ้นไปยังส่วนที่ 4 เป็นการถ่ายขนาดความกว้างของรูปด้านบนไปยังรูปด้านข้างซึ่งมีความกว้างที่เท่ากัน ดังรูปที่ 5.3
รูป 5.3
7. ลากเส้นฉายต่อจากส่วนอื่น ๆ ของภาพ ไปยังภาพด้านข้าง จากนั ้นเขียนภาพด้านข้าง ให้สมบูรณ์ ดังรูปที่ 5.4
รูป 5.4
ภาพ : นพดล เวชวิฐาน. เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). 2547
การเขียนภาพออบบลิก(Oblique) มีขั้นตอนและรายละเอียดดังนี้ คือ
1. เขียนเส้นร่างเริ่มต้นของภาพ 3 เส้น คือ เส้นในแนวนอน เส้นในแนวดิ่ง และ เส้นเอียง 45 องศา ดังแสดงในรูปที่ 6.1 เส้นเอียง 45 องศา อยู่ทางด้านซ้าย หรือทางด้านขวาของเส้นในแนวดิ่งก็ได้
2. เขียนเส้นร่างรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยม ที่มีขนาดเท่ากับความกว้าง(W)และความ สูง(H)ของชิ ้นงาน และมีความลึก( D) เป็นครึ่งหนึ่งของความลึกจริงตาม หลักการของภาพออบบลิก ดังในรูปที่ 6.2 การเขียนให้เริ่มต้นจากการเขียน เป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมก่อน แล้วค่อยใส่รายละเอียดเพิ่มเติมในภายหลัง
3. กําหนดทิศทางการมองภาพที่กล่องสี่เหลี่ยมด้านที่ต้องการให้เป็นภาพ ด้านหน้า จากนั ้นนําภาพฉายด้านหน้าที่มองเห็นรูปร่างของชิ ้นงานมาเขียน ลงในด้านของกล่องที่กําหนดให้เป็นภาพด้านหน้า โดยลดขนาดความกว้าง ของภาพลงครึ่งหนึ่งตามหลักการของภาพฉาย ดังรูปที่ 6.3
4. ลากเส้นในแนวนอนต่อจากมุมของภาพที่เป็นด้านหน้าไปทางซ้ายให้มีความ ยาวเท่ากับความกว้างของชิ ้นงาน เส้นขอบของชิ ้นงานที่ถูกบังให้เขียนเป็น เส้นประ ดังรูปที่ 6.4
5. ในภาพออบบลิก ที่มุม ๆ หนึ่งของชิ ้นงาน จะประกอบด้วยเส้น 3 เส้น คือ เส้น ในแนวนอน เส้นในแนวดิ่ง และเส้นที่เอียง 45 องศา จนครบทุกมุม เส้นขอบ ของชิ ้นงานที่ถูกบังให้เขียนด้วยเส้นประ ดังรูปที่ 6.5
ข้อควรจํา
1. การเขียนภาพออบบลิก จะต้องเขียนเส้นร่างรูปกล่องสี่เหลี่ยม ซึ่งจะมีเส้นแกนหลัก 3 เส้น คือ เส้นในแนวนอนแสดงความกว้าง เส้นในแนวดิ่งแสดงความสูง และ เส้นเอียง 45 องศา แสดงความลึกของภาพ
2. ที่มุมของชิ ้นงาน จะต้องประกอบด้วยเส้น 3 เส้นมาพบกัน
3. ด้านหรือส่วนใดของชิ ้นงานที่ถูกบังเอาไว้มองไม่เห็นให้แสดงด้วยเส้นประ
4. ขนาดของภาพในแนวเส้นเอียง 45 องศา จะมีขนาดลดลงครึ่งหนึ่งจากขนาดใน ภาพฉาย
การเขียนภาพไอโซเมตริก (Isometric) ในการเขียนภาพไอโซเมตริกมีขั้นตอนและรายละเอียด ดังนี้
1. เขียนเส้นร่างเริ่มต้นของภาพเป็นเส้นแกนหนัก 3 เส้น ด้วยกัน คือ เส้นในแนวดิ่งหรือ เส้นตั ้งฉาก (90 องศา)และเส้นในแนวเอียงทํามุม 30 องศา กับแนวระนาบ 2 เส้น ดัง แสดงในรูปที่ 7.1
2. กําหนดขนาดลงบนเส้นแกนหลักทั ้ง 3 เส้น กําหนดขนาดความสูง( H) ลงบนเส้นใน แนวดิ่ง กําหนดขนาดความกว้าง( W) ลงบนเส้นแนวเอียง 30 องศาทางด้านซ้ายมือ และกําหนดขนาดความลึก(D) ลงบนเส้นในแนวเอียง 30 องศา ทางด้านขวามือ แล้ว เขียนเส้นร่างเป็นรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยม ดังแสดงในรูปที่ 7.2
3. กําหนดทิศทางการมองภาพที่กล่องสี่เหลี่ยมด้านที่ต้องการให้เป็นภาพด้านหน้า จากนั ้นนําภาพฉายด้านหน้าที่มองเห็นรูปร่างของชิ ้นงานมาเขียนลงในกล่องที่กําหนด เป็นด้านหน้าตามขนาดจริง ดังแสดงในรูปที่ 7.3
4. ลากเส้นเอียงทํามุม 30 องศา ต่อจากมุมของภาพด้านหน้าไปทางซ้ายมือให้มีความ ยาวเท่ากับความกว้างของชิ ้นงาน เส้นขอบของชิ ้นงานที่ถูกบังให้เขียนแสดงด้วย เส้นประ ดังในรูปที่ 7.4
5. ปลายสุดของเส้นเอียง 45 องศาที่ลากต่อออกไปก็คือมุมของชิ ้นงาน ซึ่งใน ภาพไอโซเมตริก ทุกมุมของชิ ้นงานจะมีเส้นมาพบกัน 3 เส้น คือ เส้นในแนวดิ่ง และ เส้นเอียง 30 องศา 2 เส้น ให้เขียนเส้นที่ขาดอยู่ 2 เส้น คือเส้นในแนวดิ่ง และเส้นเอียง 30 องศาไปทางด้านขวามือ จนครบทุกมุม เส้นขอบของชิ ้นงานที่ถูกบังเอาไว้ให้เขียน แสดงด้วยเส้นประ ดังรูปที่ 7.5
ข้อควรจํา
1. การเขียนภาพไอโซเมตริก จะต้องเกิดจากเส้นแกนหลัก 3 เส้น คือ เส้นในแนวดิ่ง 1 เส้น และ เส้นเอียงทํามุม 30 องศา 2 เส้น
2. การเขียนจะต้องขึ ้นเป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมก่อนเสมอแล้วจึงค่อยใส่หรือเพิ่มเติม รายละเอียดในภายหลัง
3. ขนาดของภาพจะมีขนาดเท่ากับขนาดของภาพฉายทุกด้าน